ความเป็นมา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และยิ่งนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่มั่นคงมักจะเป็นประเทศที่ มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูง จึงกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็น พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศเมื่อพิจารณาถึงสภาพการผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศ พบว่าผู้มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นพิเศษทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเลือกเข้าศึกษาต่อใน คณะวิทยาศาสตร์น้อยลงทุกปี ส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาในสาขาที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้ที่ ค่อนข้างสูง เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สภาพเช่นนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการได้แก่สถานภาพทางด้านสังคม อาชีพ รายได้บรรยากาศในการทำงานไม่เอื้อหรือจูงใจให้ผู้มีความสามารถสูงหันมาประกอบอาชีพเป็น นักวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ปัญหาที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือ ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะขาดผู้มีความสามารถสูง ในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

รัฐบาลจึงมีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมมือกันจัดตั้งโครงการ พสวท. และได้ดำเนินการไปแล้ว 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2527 - 2533 และระยะที่ 2 2534 - 2539 ส่วนระยะที่ 3 พ.ศ. 2540 - 2544 อยู่ในระหว่าง ดำเนินการ และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าผลการดำเนินงานสองระยะแรกได้ผลดี จึงมีมติ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2540 ให้โครงการ พสวท. เป็นงานประจำตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์

ผลิตผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับศึกษา วิจัย ประดิษฐ์ คิดค้น และเผยแพร่ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ

สาขาวิชาที่จะให้ศึกษา

  1. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์
  2. ระดับปริญญาตรี ศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
  3. ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ ตามความถนัดของนักศึกษา และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ

ทุนการศึกษา

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวมีการแก้ไข [Update:11/08/2564]

ประกาศเปลี่ยนแปลงทุนการศึกษา (ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว) ของผู้รับทุน พสวท.[Update:11/08/2564]

เงินทุนการศึกษา

เงื่อนไขและข้อผูกพัน

  1. นักเรียน นิสิต นักศึกษาโครงการ พสวท. ทุกระดับจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำ กว่า 3.00 ถ้าต่ำากว่า 3.00 อาจจะต้องพ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน โดยจะต้องชดใช้ทุนหรือไม่ ชดใช้ทุนอยู่ที่ดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละระดับ
  2. เมื่อสําเร็จการศึกษาจะต้องปฏิบัติงานตอบแทนทุนในหน่วยงานของรัฐเป็นระยะเวลา 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนศึกษาภายในประเทศและ 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนศึกษาต่อ ต่างประเทศ หากนับเวลาปฏิบัติงานตอบแทนทุนมากกว่า 10 ปี จะกําหนดให้ปฏิบัติงานตอบแทนทุนเพียง 10 ปี