ที่มาของโครงการ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยมีอุตสาหกรรมที่กำหนดขึ้นเป็นเป้าหมายสำคัญรวม 10 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย

การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมคือ

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่(Next-generation Automotive)
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
  • การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) ซึ่งมีรากฐานที่เข้มแข็ง

และเพิ่มเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่

  • อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics)
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ สวทช. จึงดำเนินงานโครงการ STEM Workforce ขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะกำลังคนเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงต่อการยกระดับ ขีดควาสามารถ ให้แก่กลุ่มบุคลากรวิจัยและพัฒนาในภาคการผลิตและบริการ และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคการผลิต และบริการ โดยใช้โจทย์ปัญหาจากภาคการผลิตและ บริการ เป็นโจทย์ในการทำวิจัย ให้แก่นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ ได้มีโอกาสไปทำงานวิจัยร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สนใจได้

STEM Workforce เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ และความสามารถจากการทำงานจริงในระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ   เพื่อสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม แล้วยังเป็นการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ ให้แก่กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรวิจัยและพัฒนา ในภาคการผลิตและบริการที่มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
  • เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาคการผลิตและบริการ โดยผ่านกลไกความร่วมมือระหว่าง สวทช. สถาบันการศึกษา และ ภาคการผลิตและบริการ
  • กระตุ้นให้เกิดการนำองค์ความรู้ ผลงานวิจัยไป ใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคการผลิตและบริการ

ลักษณะของโครงการวิจัย / โครงงานที่สามารถขอรับการสนับสนุนได้

  • การวิจัยและพัฒนา
  • การแก้ปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
  • การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
  • ต้องเป็นโครงการที่มีงบประมาณสนับสนุนงานวิจัย และนักวิจัยหรืออาจารย์ และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำวิจัย หรือมีโครงการพร้อมแล้ว (โครงการ STEM Workforce สนับสนุนเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือนของผู้รับทุน ระหว่างที่ร่วมงานวิจัยเท่านั้น)

คุณสมบัติผู้เข้ารับทุน

  • คุณสมบัติของนักศึกษา
    1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก 
    2. ผลการเรียน (GPA) ระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.50 ระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.00 หากผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ต้องมีผลงานทางวิชาการ/เทคโนโลยี หรือผลงานอื่นเป็นที่ยอมรับและให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้คัดเลือก
    3. มีความสนใจในการทำโครงงาน/งานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย
    4. ต้องไม่เป็นผู้ที่รับทุนซ้ำซ้อนในหมวดที่โครงการสนับสนุน (ค่าใช้จ่ายรายเดือน) กับทุนการศึกษาอื่นๆ ยกเว้นได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากภาคอุตสาหกรรม  (ทั้งนี้การพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)    
  • คุณสมบัติภาคอุตสาหกรรม 
    1. เป็นผู้ประกอบการในประเทศไทยใน 10 อุตสาหกกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ตามมติ ครม. (10 พฤศจิกายน 2558)
    2. ผู้ประกอบการ รวมถึง บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งบริษัทข้ามชาติที่ลงทุนในประเทศไทย และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย และรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรมหาชน ที่ทำงานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกกรม เช่น กฟผ. กฟภ.ฯลฯ
  • คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
    1. พำนักอยู่ในประเทศไทย  
    2. มีนักศึกษาในการดูแล รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10 คน
    3. มีเวลาอย่างเพียงพอในการดูแล ให้คำแนะนำ และยินดีสนับสนุนนักศึกษาให้ทำงานวิจัย/โครงการ ร่วมกับภาคอุตสาหกกรม
  • คุณสมบัตินักวิจัยสวทช. (ถ้ามี)
    1. ต้องมีโครงการวิจัยที่มี งบวิจัย และเครื่องมือ พร้อมสนับสนุนการทำงานของผู้รับทุน
    2. มีเวลาและยินดีสนับสนุนผู้รับทุนให้ร่วมงานวิจัย/โครงการ ที่ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอ 
  • หน่วยงานที่ร่วมมือในการดำเนินโครงการ (มหาวิทยาลัย/สถาบัน/ศูนย์ความเป็นเลิศ)
    1. สามารถรับผิดชอบ ติดตามความก้าวหน้า งานวิจัยและดูแลนักศึกษาในการส่งรายงานความก้าวหน้า และผลงานอื่นๆ จนกว่าจะปิดโครงการตามที่ระบุ
    2. สามารถประสานงานกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโจทย์วิจัย และอาจารย์ นักวิจัยสวทช.(ถ้ามี) จนกว่าจะปิดโครงการ 
  • การสนับสนุนเงินทุน
    1. ค่าใช้จ่ายรายเดือน ผู้รับทุนระดับปริญญาโท จำนวน 10,000 บาทต่อเดือน 
    2. ค่าใช้จ่ายรายเดือน ผู้รับทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 12,000 บาทต่อเดือน

ระยะเวลาสนับสนุนเงินทุน

6-12 เดือน

  • ผลงานส่งมอบของผู้รับทุน  รายงานความก้าวหน้า 

เปิดระบบรับสมัคร : ตั้งแต่ บัดนี้ - 30 มกราคม 2560 (คลิกทะเบียน)

ติดต่อโครงการฯ

ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02-564-7000 ต่อ 1462 (อรทัย),1461 (ณัชชา) ,1460 (สุทิศา)  โทรสาร: 02-564-7140 Email: stemworkforce@nstda.or.th