Workshop on Genome Evolution of Important Infectious Diseases 2016

หลักการและเหตุผล

เทคโนโลยี Next-generation sequencing หรือ NGS ช่วยให้การอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ตลอดจีโนม (whole genome sequencing) ทำได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ตลอดจีโนมถูกลงมาก ทำให้ข้อมูลจีโนมถูกผลิตขึ้นจากห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ทั่วโลก ในปริมาณและอัตราที่สูง ดังนั้น ปัญหาของการวิจัยจึงไม่ได้อยู่ที่การผลิตข้อมูล แต่อยู่ที่ความสามารถในการวิเคราะห์ แปลผล และการนำข้อมูลไปใช้ประกอบกับความรู้ทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) มีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นข้อจำกัดในการขับเคลื่อนงานวิจัยของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยด้านโรคติดเชื้อต่าง ๆ

โอกาสนี้ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ “Workshop on Genome Evolution of Important Infectious Disease 2016 (GEIID2016)” ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 25–27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิวัฒนาการของจีโนมในโรคติดต่อที่สำคัญ และเพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความร่วมมือในการวิจัยต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

  1. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาวิวัฒนาการจีโนมในโรคติดต่อที่สำคัญ
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยระดับชาติทั้งในวงการวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์ บุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่อ และผู้สนใจทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานด้านจีโนมิกส์ (genomics) และ molecular phylogenetics มาบ้าง

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การประชุมเชิงวิชาการและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจะดำเนินการเป็นภาษาไทย
  2. การประชุมเชิงวิชาการจะจัดขึ้น 1 วัน (วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2559) จะเป็นการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความสำคัญหลักการ การวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนกระทั่งถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิวัฒนาการจีโนมกับโรคติดต่อที่สำคัญต่างๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจะจัดขึ้น 2 วัน (วันที่ 26–27 กรกฎาคม พ.ศ.2559) จะเป็นการทดลองปฏิบัติการทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการนำไปใช้เป็นที่แพร่หลาย

รายละเอียดเพิ่มเติม